วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2554

HL7 คืออะไร

     HL7 หรือ Health-Level 7 เป็นมาตรฐานการบริหารจัดการ การรับส่งข้อมูล และการเชื่อมต่อทางการแพทย์ผ่านระบบอิเลคโทรนิกส์ สร้างขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1987 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรฐานของระบบ HIS (จากบทความที่แล้ว) และได้รับรองจาก American National Standards Institute (ANSI) ในปี ค.ศ. 1994 โดยชื่อ "Health-Level 7" มาจากเลเยอร์ 7 Application Layer หรือจะเรียกว่าเป็นชั้นของโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานกันทั่วไปโดยอ้างอิงจาก ISO OSI Reference model

    

มาตรฐาน HL7
     เนื่องจากในโรงพยาบาลหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพ ด้านการแพทย์ต่างมีระบบที่หลากหลายเริ่มตั้งแต่ระบบเวชระเบียนผู้ป่วยจนถึงระบบบัญชี ระบบทุกระบบจำเป็นต้องสื่อสารกันได้ (Interface) ซึ่งในความเป็นจริงแต่ละระบบจะมีมาตรฐานของระบบเองทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร HL7 จึงถูกสร้างขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นโปรโตคอลหลักในการเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล HL7 ถูกพัฒนาและแบ่งออกเป็น
  • Conceptual standards เช่น HL7 RIM
  • Document standards เช่น HL7 CDA
  • Appplication standards เช่น HL7 CCOW
  • Messaging standards เช่น HL7 v2.X และ v3.0
     โดย Messaging standards เป็นส่วนสำคัญเพราะใช้ในการรวมข้อมูลโดยกำหนดจากภาษา โครงสร้างและชนิดข้อมูลเพื่อแลกเปลี่ยนระหว่างระบบ ติดตามรายละเอียด version ของ HL7 ในครั้งต่อไปนะครับ

วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล (HIS)

ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล(HIS)     จากคราวที่แล้วเราได้รู้ถึงความหมายของระบบ HIS แล้ว ในคราวนี้เรามาดูโครงสร้างของระบบ HIS จากภาพด้านล่างระบบ HIS จะประกอบด้วยโปรแกรมย่อย (Module) หลายโปรแกรมแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
    1. Front office ประกอบด้วย
        1.1 Appointment / Registration ระบบจัดการการลงทะเบียนและการนัดหมาย
        1.2 Queue Management ระบบจัดการคิว
        1.3 Bed Management ระบบบริหารเตียง
        1.4 Laboratory / Radiology ระบบห้องแล็บและระบบด้านรังสีวิทยา
        1.5 Pharmacy ระบบบริหารเวชภัณฑ์
        1.6 Discharge Management ระบบจัดการผู้ป่วยเมื่อออกจากโรงพยาบาล
        1.7 Order Entry / Billing ระบบใบสั่งแพทย์และการเรียกเก็บเงิน
        1.8 Collection / Refunds ระบบจัดการสิทธิและการเบิกจ่าย
        1.9 EMR (Electronic Medical Record-EMR) คือระบบการให้บริการเวชระเบียนอิเล็กโทรนิกส์
    2. Back office ประกอบด้วย
        2.1 Debtor Management ระบบบริหารและติดตามค่าใช้จ่าย
        2.2 Vendor Management ระบบจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์จากผู้จำหน่าย
        2.3 Stock Valuation ระบบจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุคงเหลือ
        2.4 Purchase Order ระบบประมาณการเวชภัณฑ์และวัสดุทางการแพทย์ให้เพียงพอต่อการใช้งาน
        2.5 Fixed Asset Management ระบบจำหน่ายเวชภัณฑ์และวัสดุที่เหลือจากการใช้งาน
        2.6 Expense Allocation ระบบจัดการบริหารงบประมาณและค่าใช้จ่าย
        2.7 Stock Management  ระบบจัดการเวชภัณฑ์และวัสดุคงเหลือ
        2.8 Journals ระบบบริหาร จัดการ คลังข้อมูลงานวิจัย
        2.9 Accounting Back - end ระบบัญชี
    3. Core ประกอบด้วย
        3.1 Master Files ระบบไฟล์ข้อมูลหลัก
        3.2 Approval ระบบการอนุมัติ รับรองกระบวนการทำงาน
        3.3 Form Designer ระบบจัดการฟอร์มการใช้งาน
        3.4 Report Designer ระบบจัดการ สร้างและพิมพ์รายงาน
        3.5 Security ระบบความปลอดภัยในการใช้งานซึ่งอาจมีมาตรฐานเข้ามาเกี่ยวข้องเช่น Health Insurance Portability
and Accountability Act (HIPAA)
        3.6 Alert / Messaging ระบบการแจ้งเตือนผ่านอีเมล์ ข้อความสั้น

     อีกส่วนประกอบหนึ่งทีเป็นส่วนสำคัญในการแลกเปลี่ยนข่าวสารระบบสารสนเทศทางการแพทย์คือโปรโตคอล HL7 (Health Level 7) ซึ่งมีรายละเอียดค่อนข้างมากจะขออธิบายโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่งนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

HIS ?

วันนี้ขอประเดิมบทความแรกเกี่ยวกับระบบ HIS ครับ ^^
          Hospital Information System (HIS) เป็นภาพรวมของระบบสารสนเทศทางด้านโรงพยาบาล บางที่อาจจะเรียกว่า Clinical Information System (CIS) ซึ่งในความเป็นจริงอาจขึ้นอยู่กับขอบเขตของระบบงานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้ โดยภายในระบบหลักนี้จะประกอบด้วยระบบย่อย ๆ มากมาย เช่น ระบบเวชระเบียนอิเลคทรอนิกส์(Electronic Patient Record)  ระบบสารสนเทศทางด้านห้องห้องปฏิบัติการ หรือ LIS(Laboratory Information System) และ ระบบสารสนเทศทางด้านรังสีวิทยา หรือ RIS(Radiology Information System) เป็นต้น

                                                       
          โดยจุดมุ่งหมายของการนำสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินการทางการแพทย์ก็เพื่อช่วยในการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างดีที่สุด และสามารถประมวลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อดีของการใช้ระบบ HIS คือ
- ง่ายต่อการเข้าถึงถึงข้อมูลของรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ป่วย
- เป็นระบบสนับสนุนที่ช่วยในการบริหารจัดการสิทธิการเข้าถึงข้อมูลผู้ป่วย
- ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการปริมาณการใช้ยา การดำเนินการด้านบัญชี
- เพิ่มประสิทธิภาพในด้านความน่าเชื่อถือของข้อมูล ลดข้อผิดพลาดของการรับ-ส่งข้อมูล ความซ้ำซ้อน

นี่เป็นข้อดีเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นครับ ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จากหลาย ๆ แหล่งนะครับ Link ข้างล่างนี้เป็นความหมายที่มีคนให้ไว้ใน Wiki แล้วครั้งหน้าเราจะมาดูโครงสร้างของ HIS กันนะครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Hospital_information_system

วันจันทร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2554

สวัสดีชาวโลก สวัสดี PACS Community !!!

                                                             
_/|\_ สวัสดีครับ ถ้าเป็นทางคอมพิวเตอร์ก็ต้อง Hello World !!! ก็คือการเขียนโปรแกรมคำสั่งพิมพ์พื้นฐานคำสั่งแรก ๆ เลยนะครับ จุดประสงค์ในการสร้าง Blog นี้ก็เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีทางด้านสารสนเทศที่เกี่ยวกับระบบ X-Ray เช่น RIS, (Radiology Information System)PACS (Picture Archiving and Communication System) และ Dicom (Digital Imaging and Communications in Medicine) ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน จนถึงเทคโนโลยีที่น่าสนใจต่าง ๆ และเพื่อสร้างเป็น Community ในการแบ่งปันความรู้โดยมิได้มีจุดประสงค์ในทางธุรกิจ หรือเพื่อผลกำไรนะครับ ^^ แล้วติดตามกันต่อไปนะครับ
ปล. สามารถการติดต่อเราที่ radiology dot ramathibodi at gmail.com หรือที่ Fan page นะครับ